ไปเที่ยวหนองคายค่ะ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

 



แผนที่ท่องเที่ยวจร้า


พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด





พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน อำเภอหนองพอก ใกล้กันมีหน้าผาสูงชันซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า ผาน้ำย้อย
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ มีทั้งหมด 5 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โดยรอบแกะสลักประดับแบบลายไทย มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง
ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถและประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศไทยถึง 101 องค์
ชั้นที่ 4 นอกจากจะเน้นภาพประดับสวยงามแล้ว ยังสามารถชมทัศนียภาพภูเขาเขียวได้ 4 ทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น.
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136


กู่พระโกนา

อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด


พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ วัดกู่พระโกนา หมู่ 2 ตำบลสระคู ปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน กู่พระโกนา ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทราย เรียงจากเหนือ-ใต้ ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมและซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายเช่นกัน
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้น เป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือ เป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่า กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดิน ประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำ หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบบาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16
การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา อยู่ทางซ้ายมือ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนยาง บริเวณวัดมีลิงแสมอาศัยอยู่


บึงพลาญชัย

อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด



บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาวร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง

สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์

อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด



เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์หรือที่เรียก ผาหมอกมิวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก ครอบคุมดูแลพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ 242 ตารางกิโลเมตร โดยสภาพพื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชันและสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ หมูป่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณเขตห้ามล่าฯ คือ ผาพยอม ซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้น และผาน้ำทิพย์ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ชมพระอาทิตย์ตกดิน

นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มีบริการบ้านพักและสถานที่สำหรับกางเต็นท์ หากต้องการเข้าพักเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำทางต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า ไปยังหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดีตะวันออกเฉียงเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ ตู้ ปณ.1 ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210 สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 9551 1782
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากขอนแก่น-หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากอำเภอหนองพอกถึงบ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาดถึงสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 13 กิโลเมตร

แด่...คนที่อ้ายฮัก - มนต์แคน

สถานที่ท่องเที่ยว เที่ยวย้อนอดีตวันวานผ่าน เมืองกาญจนบุรี

วันนี้เราจะมาเยือนยังจังหวัดกาญจนบุรีกันอีกครั้ง ด้วยเพราะจังหวัดนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า มีผู้คนหลากเชื้อชาติที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งไทย พม่า มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งชุมชนมาตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองกาญจนบุรีได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในปี พ.ศ. 2467




สถานที่แรกที่เราอยากจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับความทรงจำในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมือง คือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกาญจนบุรี

ทางรถไฟสายมรณะ (ถ้ำกระแซ) จุดที่น่าสนใจของทางรถไฟสายมรณะอยู่ที่ช่วงโค้งมรณะ ซึ่งเป็นช่วงที่สะพานด้านหนึ่งเลียบไปตามโค้งขอบหินผาสูงส่วนอีกด้านเป็นแม่น้ำแควน้อยที่อยู่ลึกลงไปดังหุบเหว เป็นระยะทางประมาณ 400 เมตร ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางมีความสวยงามและน่าหวาดเสียว เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของนักท่องเที่ยวอย่างมาก เส้นทางนี้สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดีย จำนวนมาก  มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์นี้ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่พม่า


          ในสมัยนั้นมีความทุรกันดาน ขาดแคลนอาหารและเต็มไปด้วยความยากลำบาก โรคภัยชุกชุม อีกทั้งความโหดร้ายทารุณของทหารญี่ปุ่นที่คอยเร่งรัดเชลยศึกให้โหมงานการก่อ สร้างอย่างหามรุ่งหามค่ำ ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายลงที่นี่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อทางรถไฟสายมรณะ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  สะพานแห่งนี้ถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดเพื่อตัดเส้นทางการลำเรียง ยุทโธปกรณ์ของกองทัพญี่ปุ่นไปสู่พม่า ทำให้สะพานได้รับความเสียหาย ต่อมาเมื่อสงครามฯ สิ้นสุดลง ในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมจนสะพานสามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิม


          ปัจจุบันสะพานแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพ และมีการจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้น เดือนธันวาคมของทุกปี มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง มีบริการนั่งรถรางเที่ยวชมทุกวัน วันธรรมดา เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 - 10.30 น., 11.20 - 14.00 น., 15.00 - 16.00 น. และ 18.00 - 18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00 - 09.30 น., 11.20 - 14.00 น., และ 18.00 - 18.30 น.


อีกหนึ่งแห่งที่เป็นสถานที่แห่งความทรงจำที่เจ็บปวดที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นกันก็คือ สุสานทหารสัมพันธมิตร(ดอนรัก) ตั้งอยู่บนถนนแสงชูโต เยื้องสถานีรถไฟกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 ไปทางอ.ไทรโยค ผ่าน รพ.แสงชูโต ตรงไปไม่ไกลจะเห็นสุสานอยู่ทางด้านซ้ายมือ "สุสานดอนรัก" หรือ "สุสานสหประชาชาติ" ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "ป่าช้าอังกฤษ" เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ เป็นอนุสรณ์สถานฝังศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ 6,982 หลุม โดยเชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์) ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่างๆ และยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น

          บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่างๆ ได้แก่ วัน Anzac Day 25 เมษายน ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ วัน Armistice Day 5 พฤษภาคม ของชาวเนเธอร์แลนด์ และ วัน Remembrance Day 11 พฤศจิกายน ของชาวอังกฤษ การมาเที่ยวยังสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในอาการสงบ ไม่ควรวิ่งเล่นหรือเดินข้ามหลุมฝังศพ ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามารับประทาน และห้ามจัดกิจกรรมทุกประเภท เพื่อเป็นการเคารพต่อสถานที่และผู้เสียชีวิต





TIPS การเดินทาง

อำเภอเมืองกาญจนบุรี

          รถยนต์ส่วนตัว ออกจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทาง ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ทางหลวงหมายเลข 4 มุ่งหน้าไปยัง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (ถ.แสงชูโต) เข้าสู่ จ.กาญจนบุรี ที่ อ.มะกา อ.ท่าท่วง ไปจนถึง อ.เมือง รวมระยะทาง 129 กม.

          รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้บรมราชชนนีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 - 22.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร.1490 เรียก บขส. หรือ www.transport.co.th

อำเภอสังขละบุรี

          รถยนต์ส่วนตัว จากตัว อ.เมือง กาญจนบุรี ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ถึงทางแยกก่อนเข้าตัว อ.ทองผาภูมิเลี้ยวขวาแล้วไปอีก 74 ก.ม. ถึง อ.สังขละบุรี การขับรถไป อ.สังขละบุรี ผู้ขับจะต้องตรวจสอบสภาพรถให้ดีก่อนการเดินทาง และควรขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเส้นทางที่คดเคี้ยวและลาดชัน โดยเฉพาะช่วง อ.ทองผาภูมิ มุ่งหน้า อ.สังขละบุรี และควรตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้พร้อมเพราะจากทางแยกแล้วจะมีปั้มน้ำมันเพียงปั้มเดียวบริเวณทางแยกด่านเจดีย์สามองค์เท่านั้น

          รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) - สังขละบุรี เส้นทางกรุงเทพฯ-ด่านเจดีย์สามองค์ ของ บริษัทขนส่ง จำกัด เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 6-7 ชั่วโมง มีรถออกวันละ 4 รอบ (05.00 น. , 06.00 น. , 09.30 น. , 12.30 น.) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและตารางเดินรถได้ที่ Call Center  โทร.1490 เรียก บขส. หรือ www.transport.co.th