ไปเที่ยวหนองคายค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัดถ้ำสุมณฑาภาวนา (วัดผาสุการาม)

 

ประวัติวัดถ้ำสุมณฑาภาวนา

ประวัติวัดถ้ำสุมณฑาภาวนา

ถ้ำพระนางสุมณฑา ภูผาหัก ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ    ป่าบะยาว ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันตกของหมู่บ้านผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี อันเป็นรอยต่อพื้นที่ ๓ จังหวัด จ.สกลนคร จ.อุดรธานี และจ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีถ้ำและดินแดน อันศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล ยังมีถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์และลึกลับอีกถ้ำหนึ่ง อยู่บริเวณภูผาหักแห่งนี้ อันเป็นถ้ำและสถานที่เมืองของคนบังบดลับแล คนโบราณเรียกว่า “ถ้ำเม็ง” (ถ้ำเกวียนหัก) มีเรื่องเล่าต่อกันมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย ว่าพระยาขอมองค์หนึ่งในยุคสมัยเจลละ ได้นำทรัพย์สิน  เงินทองของมีค่า มาซุกซ่อนไว้เพื่อหลบภัยในการรุกไล่ของการทำศึกกับคนต่างเผ่าพันธุ์ พอบรรทุกเงินทองของมีค่ามาถึงหน้าผาด้านทิศใต้ของภูผาหัก เกวียนเลยชำรุดหักไม่สามารถที่จะบรรทุกเงินทองข้าวของของมีค่าอีกต่อไปได้ จึงนำสมบัติเหล่านั้นเข้าไปเก็บซุกซ่อนไว้ในถ้ำตรงหน้าผาที่เกวียนหัก พวกคนสมัยโบราณ และพรานป่า ตลอดทั้งพระธุดงค์ท่านเคยเข้าไปในถ้ำดังกล่าว

ภาพที่ ๑ วัดถ้ำสุมณฑาภาวนา

ได้ไปเห็นของมีค่าเหล่านั้น แต่พอกลับออกมา วันหลังนึกเกิดความโลภอยากได้ขึ้นมา จึงพากันหวนกลับมาที่เดิม (ถ้ำ) แต่ก็หลงทิศทางจำทางเข้าถ้ำและหน้าผาไม่ได้ จึงได้แต่พากันค้นแสวงหาเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน เพราะในถ้ำแห่งนี้บางครั้ง เช่น วันพระจะมีเสียงคุยกันและเสียงหัวเราะ ภาษาพูดสำเนียงครึ่งมนุษย์ครึ่งเทพ ฟังได้ชัดถ้อยชัดคำ และจะมีแสงเปล่งประกายออกมาในเวลากลางคืน พร้อมด้วยเสียงฆ้อง เสียงกลอง เสียงพิณ และเสียงแคนเป่ามาให้ได้ยินเป็นบางโอกาสถ้ำสุมณฑาจึงเป็นถ้ำที่เขียนไว้ในวรรณกรรมอีสานล้านช้างระบุไว้ว่าพญากุมภัณฑ์ยักษ์ผู้มีฤทธิ์เดช สามารถเสกมนต์คาถา แปลงร่างและเหาะเหินเดินอากาศได้ พญากุมภกัณฑ์ยักษ์ได้ออกไปหาอาหารอยู่บนเทือกเขาแห่งหนึ่งบริเวณเทือกเขาภูพาน ชำเลืองตามองเห็นพระนางสุมณฑา ซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาขอม ผู้ครองเมือง “เปงจานนครราช”

ภาพที่ ๒ ศาลพระนางสุมณฑา

พระนางสุมณฑาเป็นธิดาองค์เดียวเสด็จประพาสป่า ร้อนพระทัยไม่เป็นอันอยู่ในพระตำหนัก ตกดวงชะตาไม่ดี ถูกพระเคราะห์เสวยอายุ จึงได้อำลาพระยาขอมผู้เป็นบิดาออกมาเที่ยวประพาสป่าเพื่อให้สบายจิตใจขึ้น พร้อมด้วยบริวารที่เป็นสนมกำนัลติดตามเดินทางเข้าป่าเขา จนรู้สึกเมื่อยล้า จึงได้บรรทมพักผ่อนกลางวันบนป่าเขา พอดีพญายักษ์ออกไปหาอาหารได้พบเข้า จึงนึกในใจว่าต้องจับมนุษย์พวกนี้มาเป็นอาหาร แต่พอเข้าไปใกล้ชิดได้มองเห็นพระนางสุมณฑาเป็นผู้หญิงที่เลอโฉมสวยงาม ผิวพรรณประดุจนางฟ้าจึงมีจิตปฏิพัทธ์ยินดีจึงเปลี่ยนใจเสกมนต์คาถาให้นางสนมกำนัลนอนหลับ แล้วย่องเข้าไปอุ้มเอาพระนางสุมณฑา พามาหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำภูผาหักแห่งนี้ พอพระนางสุมณฑารู้สึกตัวตื่นขึ้นมา  รู้ว่าตัวเองอยู่ในวงล้อมของกลุ่มยักษ์บริวารของพญากุมภัณฑ์ยักษ์ พระนางสุมณฑา  จึงได้แต่สวดมนต์ภาวนาร่ายมนต์คัมภีร์พระเวทย์ตามลัทธิพราหมณ์

ภาพที่ ๓ พระนางสุมณฑา

พระนางอ้อนวอนถึงเทพาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ดลบันดาลช่วยเหลือ ให้ร่างกายของพระนางมีอาการร้อนเหมือนเปลวเพลิง กุมภัณฑ์ ยักษ์มีจิตใจยินดีด้วยความรัก จะพยายามเข้าไปแตะต้องร่างกายมิได้ ก็ได้แต่เฝ้าอยู่หน้าถ้ำกับบริวารยักษ์ และไปเก็บอาหาร ผลไม้มาคอยเฝ้าอุปัฏฐากพระนางได้บริโภค พอบริวารสนมกำนัลของพระนางตื่นขึ้นมาไม่เห็น

ภาพที่ ๔ พระยาสังข์สินชัย

พระนาง เห็นแต่รอยเท้ายักษ์ นางสนมกำนัลร้องเรียกหาพระนาง ค้นหาอย่างไรก็ไม่พบ จึงได้พากันกลับไปทูลพระยาขอมผู้เป็นบิดา เมืองเปงจานครราช พระยาขอมผู้เป็นบิดาจึงได้ให้ท้าวทั้ง ๖ ซึ่งเป็นบุตรภรรยาคนที่ ๒ (มเหสีรอง) ให้ติดตามค้นหาพระนางสุมณฑา พบแหล่งที่อยู่ไพร่พลของพญายักษ์ จึงได้ทำศึกรบเพื่อแย่งชิงเอาผู้เป็นอา (พระนางสุมณฑา) แต่ไม่สามารถ ที่จะรบเอาชนะกับพญายักษ์และบริวารได้ จึงย้อนกลับไปกราบทูลพระยาขอมทรงทราบ พระยาขอมผู้เป็นบิดาจึงได้ส่งท้าวทั้ง ๓ ที่เป็นบุตรของภรรยาคนแรก (มเหสีหลวง) คือ พระศรีโหร์ พระสังข์ทอง และพระสินชัย ให้มาติดตามเอา

ภาพที่ ๕ พญากุมภัณฑ์

ภาพที่ ๖ หน้าผาถ้ำสุมณฑาที่แตกหักลงมา

พระนางสุมณฑา บุคคลทั้ง ๓ ซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มีอำนาจ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีบุญมาเกิดจึงได้ติดตามมาพบพระนางสุมณฑาอยู่บริเวณถ้ำ  จึงได้ทำศึกรบต่อสู้ยิงลูกศรเพื่อแย่งชิงเอาพระนางสุมณฑาต่างฝ่ายก็ไม่มีผู้ใดเป็นผู้ชนะผู้แพ้ จนเมื่อยล้า พญากุมภัณฑ์และบริวารนอนหลับ พระสังข์สินชัยจึงได้แอบเข้ามาชักชวนเอาพระนางสุมณฑากลับเมืองขอมคือเมืองเปงจานนครราช ล่องน้ำหลบหลีกหนีไปซึ่งลำน้ำนี้เกิดขึ้นเพราะไพร่พลของพระสังข์สินชัยและไพร่พลของยักษ์กุมภัณฑ์ได้ทำสงครามวิ่งรุกไล่ขึ้นลงระหว่างตีนเขาถึงยอดเขา จึงเป็นต้นกำเนิด “แม่น้ำสงคราม” คือ  สงครามระหว่างยักษ์กับมนุษย์ร่องรอยการสู้รบสันเขาจึงเป็นร่องน้ำ          

 

ภาพที่ ๗ ศาลาการเปรียญหลังเก่า

 

 ภาพที่ ๘ บริเวณแม่น้ำสงครามในอดีต

หน้าผาถ้ำสุมณฑาแตกหักลงมาแตกจึงเป็นหน้าผาตัดให้อนุชนรุ่นหลังได้มองเห็น  จนถึงยุคปัจจุบัน ร่องรอยที่เป็นต้นแม่น้ำสงครามเกิดขึ้นระหว่างการแย่งชิงเอาสมบัติ คือ บุคคลที่ตนรักและหวงแหน จึงเป็นต้นลำแม่น้ำ “สงคราม” ไหลลงมาจากภูผาลม และอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี และตรงบริเวณหน้าถ้ำสุมณฑา ห่างจากหน้าวัดสุมณฑาภาวนา ประมาณ ๓ กิโลเมตร  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เป็นแม่น้ำทอดลำแม่น้ำยาวลงไปจนถึงปากน้ำไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติไหลลงสู่ทะเล เป็นแม่น้ำอันใสสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งใดปิดกั้นและกีดขวางแม่น้ำสายนี้มาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นแม่น้ำสายเดียวในประเทศไทย ยังมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องและมีความงดงามตามธรรมชาติ ประดุจเหมือนสาวพรหมจารีย์ ที่ยังไม่มีผู้ใดแตะต้องและเหยียบย่ำมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไผว่าเมืองอีสานฮ้าง สิจูงแขนมันมาเบิ่งกกพร้าว กกหมากยังตั้งซอนลอน กกมอนยังซ้ายล้าย มันสิฮ้างได้จั่งได้

เก็บมาฝาก บรรยยากาศด้านหลังเขาค่ะ





ขอขอบคุณ
คณะศิษยาณุศิษย์  คณาจารย์และนักศึกษา
สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว
ปีการศึกษา ๒๕๕๓
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


และ
เพื่อนๆนายแบบนางแบบทั้งหมด

2 ความคิดเห็น:

  1. วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง)

    วัดถ้ำพระพุทธไสยาส.blogspot.com/

    **ฝาก Blog วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (วัดถ้ำพระทอง) ด้วยนะครับ**

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ3 ธันวาคม 2561 เวลา 07:43

    ปีใหม่ ไปไหว้พระที่นี้ก็ได้. บ้านเราก็มีของดี ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาที่อื่น. วังสามหมอ

    ตอบลบ